
วัดยานนาวา ไอเดียกระฉูด ใช้ "บัตรเติมเงินไฟฟ้า" ฝึกนิสัยประหยัดพลังงานให้พระ-เณรในวัด โดยเติมเงินได้ตั้งแต่แปดโมงเช้าถึงห้าโมงเย็น ในอัตราขั้นต่ำคนละ 50 บาท พบค่าไฟฟ้าลดวูบ จากอาคารละ 2-3 หมื่นต่อเดือน เหลือ 8,000-9,000 บาทเท่านั้น
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :

อาคารที่ยังไม่ได้ติดตั้งระบบจะเสียค่าไฟฟ้าราว 25,000-30,000 บาทต่อเดือน แต่อาคารที่ใช้ระบบเติมเงินจะเสียค่าไฟฟ้าเพียง 8,000-9,000 บาทเท่านั้น
จากต้นทุนราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อต้นทุนค่าขนส่ง และราคาสินค้าในประเทศ ทั้งนี้ ยังรวมถึง "ค่าไฟฟ้า" ที่มีน้ำมันเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตด้วย
ด้วยเหตุนี้ การรณรงค์ประหยัดไฟฟ้าจึงเป็นหนทางหนึ่งในการลดการนำเข้าน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นการ "ช่วยชาติ" ไปในตัว !!
การรณรงค์ประหยัดไฟฟ้าจึงเริ่มขึ้นทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และครัวเรือนทั่วไป แม้แต่ใน "วัด" ก็ขานรับกระแสดังกล่าวด้วยเช่นกัน
พระมหาวีรธรรม ธัมมะวีโร ผู้รับผิดชอบโครงการประหยัดไฟฟ้า ของวัดยานนาวา กล่าวถึงที่มาของโครงการประหยัดไฟฟ้าของวัด ว่า ที่ผ่านมาในแต่ละเดือน วัดยานนาวามีค่าใช้จ่ายทั้งค่าน้ำ และค่าไฟฟ้าสูงถึงเดือนละ 3 แสนบาท
เงินก้อนดังกล่าวถือว่าน่าเสียดายอย่างยิ่ง หากนำไปใช้พัฒนาด้านอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ พระมหาวีรธรรม ในฐานะตัวแทนวัด จึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับ นายพานิช พงศ์ภิโรดม อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อช่วยหาวิธีลดค่าไฟฟ้า
ตรรกะง่ายๆ ที่ถูกนำมาใช้ในโครงการนี้ในเวลาต่อมาก็คือ ใครใช้-ใครจ่าย โดยเมื่อต้องรับผิดชอบค่าไฟฟ้าด้วยตนเองโดยตรง แต่ละคนก็จะต้องเริ่มเกิดการประหยัดตามมา !!
พระมหาวีรธรรม เล่าอีกว่า กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้เสนอแนวทางในการฝึกนิสัยการประหยัดพลังงานไฟฟ้าด้วยการจำกัดการใช้ตามวงเงินแบบ "บัตรเติมเงิน" เช่นเดียวกันกับการเติมเงินบัตรโทรศัพท์มือถือ
สำหรับรูปร่างหน้าตาของ "บัตรเติมเงินค่าไฟฟ้า" จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับ "บัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด" ซึ่งจะมีชิพฝังอยู่บนบัตร และสามารถนำไปเติมเงินได้
ส่วนมิเตอร์ไฟฟ้าแบบเติมเงินจะมีหน้าตาคล้ายๆ กับมิเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป แต่แตกต่างกันตรงที่มี "ช่องเสียบบัตรเติมเงิน" โดยเมื่อเสียบบัตรเข้าไป หน้ามิเตอร์ก็จะแสดงจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้ตามวงเงินภายในบัตร
โดยพระแต่ละรูปในวัดจะได้รับการเติมเงินค่าไฟขั้นต่ำเริ่มที่ 50 บาท (คิดค่าใช้กระแสไฟฟ้าในราคาหน่วยละ 4 บาท) โดยสามารถเติมเงินที่ฝ่ายอำนวยการในเวลาปฏิบัติการตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 ของทุกวัน
ทางวัดลงทุนติดตั้ง "มิเตอร์วัดไฟแบบเติมเงิน" ในราคาเครื่องละ 3,000 บาท จำนวน 40 เครื่อง...เท่ากับจำนวนห้องที่มีอยู่ภายในอาคาร
ส่วนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ร่วมสนับสนุนโครงการประหยัดไฟด้วยการเปลี่ยนหลอดไฟและโคมส่องสว่างภายในวัดจากหลอดไส้และหลอดนีออนธรรมดามาเป็น "หลอดตะเกียบ" ที่กินไฟน้อยลง แต่ความสว่างยังเท่าเดิม
ขณะที่ โคมส่องสว่าง ซึ่งเคลือบด้วยสีขาว และสะท้อนแสงจากหลอดได้ไม่ดีนัก ก็เปลี่ยนมาเป็น "โคมสเตนเลสขัดมัน" ที่สะท้อนและกระจายแสงได้ดีกว่า และเปลี่ยนหลอดที่เคยใช้จากขนาด 60 วัตต์ มาเป็นขนาด 40 วัตต์ เนื่องจากหลอดขนาดเดิมกินไฟมากเกินจำเป็น
พระมหาวีรธรรม กล่าวถึงผลสำเร็จหลังจากดำเนินโครงการดังกล่าวมาได้ระยะหนึ่งว่า
"โครงการบัตรเติมเงินพลังไฟฟ้าเริ่มมาได้ราว 4 เดือน และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยผู้ที่เสียค่าไฟฟ้ามากสุด เนื่องจากมีเครื่องปรับอากาศ จะเสียค่าไฟราว 1,200 บาทต่อเดือน ส่วนที่ใช้ประหยัดมากก็ราวๆ 200-300 บาทเท่านั้น และเปรียบเทียบระหว่างอาคารที่ใช้ระบบเติมเงินกับระบบเหมาจ่าย พบว่ามีส่วนต่างกันในอัตราส่วนถึง 1 ต่อ 3 โดยอาคารที่ยังไม่ได้ติดตั้งระบบจะเสียค่าไฟฟ้าราว 25,000-30,000 บาทต่อเดือน แต่อาคารที่ใช้ระบบเติมเงินจะเสียค่าไฟฟ้าเพียง 8,000-9,000 บาทเท่านั้น"
กรณีดังกล่าวหมายถึงค่าไฟส่วนตัวภายในกุฏิของพระแต่ละรูป ส่วน "ค่าไฟฟ้าส่วนกลาง" เช่น ไฟส่องสว่างตามทางเดิน หรือลิฟต์ ทางวัดจะเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายให้
พระมหาวีรธรรม ย้ำว่า ในกรณีที่สามเณร หรือพระภิกษุที่ไม่สามารถช่วยรับผิดชอบค่าใช้ไฟฟ้าได้นั้น วัดก็ไม่ได้ใจไม้ไส้ระกำถึงขนาดตัดไฟไม่ให้ใช้เลย แต่จะ "จำกัดการใช้" โดยจะจ่ายไฟให้เดือนละ 20 หน่วย
โดยสามเณร หรือพระภิกษุในส่วนนี้จะต้องช่วยงานภายในวัดมากขึ้น เช่น ช่วยกันดูแลความสะอาดในกุฏิ กวาดลานวัด เก็บใบไม้บ้างตามแต่สมควร
พระมหาวีรธรรม กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า วัดยานนาวาถือเป็นวัดแรกที่นำโครงการไฟฟ้าเติมเงินมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม และในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะขยายโครงการไปยังกุฏิข้างเคียง และจะครอบคลุมทั้งวัดภายในปี 2553
พระมหาวีรธรรม กล่าวถึงโครงการที่จะทำต่อจากนี้ด้วยว่า กำลังศึกษา "โครงการน้ำร้อนพลังแสงอาทิตย์" อยู่ และเชื่อว่าจะสามารถประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายให้แก่วัดได้มากขึ้นไปอีก
สอดคล้องกับ พระมหาวีระพล วีระญาโณ พระอีกรูปในวัดยานนาวา บอกว่า พระในวัดมีพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปหลังจากใช้ระบบไฟฟ้าแบบเติมเงิน โดยทุกครั้งที่ไม่อยู่ในห้อง หรือเพียงเดินออกมาด้านนอกเพียงเล็กน้อย หากไม่มีความจำเป็นในการใช้แสงสว่างก็จะปิดไฟ และอาศัยแสงสว่างจากหน้าต่างในช่วงกลางวันแทน ทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงไปจากเดิมได้เป็นอย่างมาก
"เดิมอาตมาต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละ 600-700 บาท แต่ปัจจุบันเหลือเพียงเดือนละไม่เกิน 400 บาทเท่านั้น"
พระมหาวีระพล สนับสนุนแนวคิดนี้เต็มที่ โดยบัตรเติมเงินค่าไฟฟ้าสามารถใช้ต่อไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะหมดมูลค่าของบัตร และไม่ได้ระบุว่าต้องใช้เดือนต่อเดือน เพียงแต่ต้องหมั่นตรวจสอบว่ายังเหลือค่าไฟฟ้าอีกเท่าไร่ก็เติมเงินก่อนที่จะหมดจำนวนเงินในบัตรเท่านั้นเอง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :

อาคารที่ยังไม่ได้ติดตั้งระบบจะเสียค่าไฟฟ้าราว 25,000-30,000 บาทต่อเดือน แต่อาคารที่ใช้ระบบเติมเงินจะเสียค่าไฟฟ้าเพียง 8,000-9,000 บาทเท่านั้น
จากต้นทุนราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อต้นทุนค่าขนส่ง และราคาสินค้าในประเทศ ทั้งนี้ ยังรวมถึง "ค่าไฟฟ้า" ที่มีน้ำมันเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตด้วย
ด้วยเหตุนี้ การรณรงค์ประหยัดไฟฟ้าจึงเป็นหนทางหนึ่งในการลดการนำเข้าน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นการ "ช่วยชาติ" ไปในตัว !!
การรณรงค์ประหยัดไฟฟ้าจึงเริ่มขึ้นทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และครัวเรือนทั่วไป แม้แต่ใน "วัด" ก็ขานรับกระแสดังกล่าวด้วยเช่นกัน
พระมหาวีรธรรม ธัมมะวีโร ผู้รับผิดชอบโครงการประหยัดไฟฟ้า ของวัดยานนาวา กล่าวถึงที่มาของโครงการประหยัดไฟฟ้าของวัด ว่า ที่ผ่านมาในแต่ละเดือน วัดยานนาวามีค่าใช้จ่ายทั้งค่าน้ำ และค่าไฟฟ้าสูงถึงเดือนละ 3 แสนบาท
เงินก้อนดังกล่าวถือว่าน่าเสียดายอย่างยิ่ง หากนำไปใช้พัฒนาด้านอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ พระมหาวีรธรรม ในฐานะตัวแทนวัด จึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับ นายพานิช พงศ์ภิโรดม อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อช่วยหาวิธีลดค่าไฟฟ้า
ตรรกะง่ายๆ ที่ถูกนำมาใช้ในโครงการนี้ในเวลาต่อมาก็คือ ใครใช้-ใครจ่าย โดยเมื่อต้องรับผิดชอบค่าไฟฟ้าด้วยตนเองโดยตรง แต่ละคนก็จะต้องเริ่มเกิดการประหยัดตามมา !!
พระมหาวีรธรรม เล่าอีกว่า กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้เสนอแนวทางในการฝึกนิสัยการประหยัดพลังงานไฟฟ้าด้วยการจำกัดการใช้ตามวงเงินแบบ "บัตรเติมเงิน" เช่นเดียวกันกับการเติมเงินบัตรโทรศัพท์มือถือ
สำหรับรูปร่างหน้าตาของ "บัตรเติมเงินค่าไฟฟ้า" จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับ "บัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด" ซึ่งจะมีชิพฝังอยู่บนบัตร และสามารถนำไปเติมเงินได้
ส่วนมิเตอร์ไฟฟ้าแบบเติมเงินจะมีหน้าตาคล้ายๆ กับมิเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป แต่แตกต่างกันตรงที่มี "ช่องเสียบบัตรเติมเงิน" โดยเมื่อเสียบบัตรเข้าไป หน้ามิเตอร์ก็จะแสดงจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้ตามวงเงินภายในบัตร
โดยพระแต่ละรูปในวัดจะได้รับการเติมเงินค่าไฟขั้นต่ำเริ่มที่ 50 บาท (คิดค่าใช้กระแสไฟฟ้าในราคาหน่วยละ 4 บาท) โดยสามารถเติมเงินที่ฝ่ายอำนวยการในเวลาปฏิบัติการตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 ของทุกวัน
ทางวัดลงทุนติดตั้ง "มิเตอร์วัดไฟแบบเติมเงิน" ในราคาเครื่องละ 3,000 บาท จำนวน 40 เครื่อง...เท่ากับจำนวนห้องที่มีอยู่ภายในอาคาร
ส่วนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ร่วมสนับสนุนโครงการประหยัดไฟด้วยการเปลี่ยนหลอดไฟและโคมส่องสว่างภายในวัดจากหลอดไส้และหลอดนีออนธรรมดามาเป็น "หลอดตะเกียบ" ที่กินไฟน้อยลง แต่ความสว่างยังเท่าเดิม
ขณะที่ โคมส่องสว่าง ซึ่งเคลือบด้วยสีขาว และสะท้อนแสงจากหลอดได้ไม่ดีนัก ก็เปลี่ยนมาเป็น "โคมสเตนเลสขัดมัน" ที่สะท้อนและกระจายแสงได้ดีกว่า และเปลี่ยนหลอดที่เคยใช้จากขนาด 60 วัตต์ มาเป็นขนาด 40 วัตต์ เนื่องจากหลอดขนาดเดิมกินไฟมากเกินจำเป็น
พระมหาวีรธรรม กล่าวถึงผลสำเร็จหลังจากดำเนินโครงการดังกล่าวมาได้ระยะหนึ่งว่า
"โครงการบัตรเติมเงินพลังไฟฟ้าเริ่มมาได้ราว 4 เดือน และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยผู้ที่เสียค่าไฟฟ้ามากสุด เนื่องจากมีเครื่องปรับอากาศ จะเสียค่าไฟราว 1,200 บาทต่อเดือน ส่วนที่ใช้ประหยัดมากก็ราวๆ 200-300 บาทเท่านั้น และเปรียบเทียบระหว่างอาคารที่ใช้ระบบเติมเงินกับระบบเหมาจ่าย พบว่ามีส่วนต่างกันในอัตราส่วนถึง 1 ต่อ 3 โดยอาคารที่ยังไม่ได้ติดตั้งระบบจะเสียค่าไฟฟ้าราว 25,000-30,000 บาทต่อเดือน แต่อาคารที่ใช้ระบบเติมเงินจะเสียค่าไฟฟ้าเพียง 8,000-9,000 บาทเท่านั้น"
กรณีดังกล่าวหมายถึงค่าไฟส่วนตัวภายในกุฏิของพระแต่ละรูป ส่วน "ค่าไฟฟ้าส่วนกลาง" เช่น ไฟส่องสว่างตามทางเดิน หรือลิฟต์ ทางวัดจะเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายให้
พระมหาวีรธรรม ย้ำว่า ในกรณีที่สามเณร หรือพระภิกษุที่ไม่สามารถช่วยรับผิดชอบค่าใช้ไฟฟ้าได้นั้น วัดก็ไม่ได้ใจไม้ไส้ระกำถึงขนาดตัดไฟไม่ให้ใช้เลย แต่จะ "จำกัดการใช้" โดยจะจ่ายไฟให้เดือนละ 20 หน่วย
โดยสามเณร หรือพระภิกษุในส่วนนี้จะต้องช่วยงานภายในวัดมากขึ้น เช่น ช่วยกันดูแลความสะอาดในกุฏิ กวาดลานวัด เก็บใบไม้บ้างตามแต่สมควร
พระมหาวีรธรรม กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า วัดยานนาวาถือเป็นวัดแรกที่นำโครงการไฟฟ้าเติมเงินมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม และในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะขยายโครงการไปยังกุฏิข้างเคียง และจะครอบคลุมทั้งวัดภายในปี 2553
พระมหาวีรธรรม กล่าวถึงโครงการที่จะทำต่อจากนี้ด้วยว่า กำลังศึกษา "โครงการน้ำร้อนพลังแสงอาทิตย์" อยู่ และเชื่อว่าจะสามารถประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายให้แก่วัดได้มากขึ้นไปอีก
สอดคล้องกับ พระมหาวีระพล วีระญาโณ พระอีกรูปในวัดยานนาวา บอกว่า พระในวัดมีพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปหลังจากใช้ระบบไฟฟ้าแบบเติมเงิน โดยทุกครั้งที่ไม่อยู่ในห้อง หรือเพียงเดินออกมาด้านนอกเพียงเล็กน้อย หากไม่มีความจำเป็นในการใช้แสงสว่างก็จะปิดไฟ และอาศัยแสงสว่างจากหน้าต่างในช่วงกลางวันแทน ทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงไปจากเดิมได้เป็นอย่างมาก
"เดิมอาตมาต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละ 600-700 บาท แต่ปัจจุบันเหลือเพียงเดือนละไม่เกิน 400 บาทเท่านั้น"
พระมหาวีระพล สนับสนุนแนวคิดนี้เต็มที่ โดยบัตรเติมเงินค่าไฟฟ้าสามารถใช้ต่อไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะหมดมูลค่าของบัตร และไม่ได้ระบุว่าต้องใช้เดือนต่อเดือน เพียงแต่ต้องหมั่นตรวจสอบว่ายังเหลือค่าไฟฟ้าอีกเท่าไร่ก็เติมเงินก่อนที่จะหมดจำนวนเงินในบัตรเท่านั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น